บริษัท แอลอีดีเซฟ(ประเทศไทย) จำกัด

ดูบทความการเลือกใช้ โคมไฟถนน LED ประหยัดพลังงาน

การเลือกใช้ โคมไฟถนน LED ประหยัดพลังงาน

การเลือกใช้ หลอดไฟฟ้า และโคมไฟถนน (Street Light)

     หลอดไฟฟ้าที่ควรเลือกใช้ในการส่องสว่างถนนส่วนใหญ่ของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จะนิยมใช้โคมไฟถนนและหลอดไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ตามชนิดและประเภทของถนนในแต่ละพื้นที่ เช่น โคมไฟถนนประเภทต่าง ๆ ที่ใช้หลอดโซเดียมความดันไอสูง   หลอดเมทัลฮาไลด์ หรือหลอดไอปรอทความดันสูง แหล่งกำเนิดแสงประกอบด้วย หลอดไฟฟ้า อุปกรณ์ควบคุม และตัวโคมไฟถนน องค์ประกอบที่มีผลต่อการเลือกใช้ในการออกแบบไฟถนน ได้แก่

  • ขนาดของหลอดไฟฟ้า (กำลังไฟฟ้าและฟลักซ์ส่องสว่าง)
  • อายุของหลอดไฟฟ้าo สีของแสงและการเห็นสี ( Tc, Ra)
  • ประสิทธิผลของหลอดไฟฟ้าและโคมไฟถนน
  • ขนาดทางกายภาพของหลอดไฟฟ้าและโคมไฟถนน
  • การกระจายแสงของโคมไฟถนน
  • ความคงทนและชั้นการป้องกันของโคมไฟถนน
  • ราคาหลอดไฟฟ้าและโคมไฟถนน


   1.หลอดเอชไอดี (HID)1) หลอดไอปรอทความดันสูงหลอดไอปรอทความดันสูง หรือหลอดแสงจันทร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เก่าแก่ และใช้กันมากในไฟถนน ทำงานด้วยไอปรอทที่ความดันสูง มีให้เลือกใช้หลายขนาดจุดเด่น คือ อายุใช้งานยาว ง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากใช้บัลลาสต์แต่เพียงอย่างเดียวจุดด้อย คือ ค่าประสิทธิผลการส่องสว่างต่ำ ฟลักซ์ส่องสว่างจะลดลงค่อนข้างเร็วตามอายุใช้งานเมื่อเทียบกับหลอดโซเดียมความดันไอสูง และเมื่อไฟฟ้าดับช่วงสั้น ๆหลอดจุดติดใหม่จะใช้เวลานานรายละเอียดและสมรรถนะในการทำงานของหลอดไอปรอทความดันสูงดู มอก 673เล่ม 2-255X, มาตรฐาน IEC 60188 (2001-05)

   2. หลอดเมทัลฮาไลด์หลอดเมทัลฮาไลด์ มีให้เลือกใช้หลายขนาด ทำงานด้วยไอปรอทที่ความดันสูงภายในหลอดถ่ายประจุมีการเติมสารประกอบจำพวกฮาไลด์ เพื่อทำให้สีของแสงดีขึ้น มีอุณหภูมิสีต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสารประกอบฮาไลด์ที่เติมเข้าไปจุดเด่น คือ ประสิทธิผลการส่องสว่างมีค่าสูง (70-100 lm/W) ดัชนีการให้สี Ra มีค่าประมาณ 60-80 บางรุ่นอาจมีค่า Ra มากกว่า 90จุดด้อย คือ อายุใช้งานสั้นกว่าหลอดถ่ายประจุชนิดอื่น (8,000 ชั่วโมง)ในการทำงานของหลอดต้องใช้บัลลาสต์และอิกนิเตอร์ แรงดันจุดหลอด ประมาณ2.8 – 5 kV รายละเอียดและสมรรถนะในการทำงานของหลอดเมทัลฮาไลด์ ดูมาตรฐาน IEC 61167 (1992-09)3) หลอดโซเดียมความดันไอสูงหลอดโซเดียมความดันไอสูงใช้กันมากในไฟถนน มีให้เลือกใช้หลายขนาด ทำงานด้วยไอโซเดียมความดันสูงจุดเด่น คือ ประสิทธิผลการส่องสว่างมีค่าสูงกว่าหลอดเอชไอดี (HID) ชนิดอื่น ๆ(ประมาณถึง 130 lm/W) ตัวหลอดที่ส่องสว่างมีขนาดเล็ก ทำให้การควบคุมการกระจายแสงทำได้ดี และตัวโคมไฟมีขนาดเล็ก หลอดมีอายุใช้งานยาว ในขณะที่ฟลักซ์ส่องสว่างลดลงค่อนข้างน้อยตามอายุใช้งานจุดด้อย คือ มีอุณหภูมิสีต่ำประมาณ 2000 K สีของแสงเป็นสีเหลืองทอง ซึ่งมีดัชนีการให้สีค่อนข้างต่ำ (Ra = 25) มีหลอดโซเดียมซึ่งให้แสงสีขาวเหลือง มีอุณหภูมิสี2500 K ดัชนีการให้สีดีขึ้น Ra = 85 แต่ประสิทธิผลการส่องสว่างต่ำกว่าแบบธรรมดาในการทำงานของหลอด ต้องใช้บัลลาสต์และอิกนิเตอร์ แรงดันจุดหลอด ประมาณ2.8 – 5 kV รายละเอียดและสมรรถนะในการทำงานของหลอดโซเดียมความดันไอสูงดูมาตรฐาน IEC 606624) หลอดโซเดียมความดันไอต่ำหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ มีให้เลือกใช้หลายขนาด ทำงานด้วยไอโซเดียมความดันต่ำ ใช้ก๊าซนีออนและอาร์กอน เพื่อทำหน้าที่ช่วยเมื่อเริ่มจุดหลอด หลอดใช้เวลาตั้งแต่เริ่มจุดจนให้แสงเต็มที่ประมาณ 12 – 15 นาที4-3จุดเด่น คือ ประสิทธิผลการส่องสว่างมีค่าสูงกว่าหลอดไฟชนิดอื่น ๆ (150-200lm/W) ฟลักซ์ส่องสว่างลดลงค่อนข้างน้อยตามอายุใช้งานจุดด้อย คือ ให้แสงคลื่นความถี่เดียว สีเหลือง อุณหภูมิสี 1700 K มีค่าดัชนีให้สีแสงต่ำ หลอดมีอายุใช้งานสั้นกว่าหลอดโซเดียมความดันไอสูง ตัวหลอดที่ส่องสว่างมีขนาดยาว ทำให้การควบคุมการกระจายแสงทำได้ยากและตัวโคมไฟมีขนาดใหญ่รายละเอียดและสมรรถนะในการทำงานของหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ ดูมาตรฐาน IEC 60192

   3.โคมไฟถนน LED / Street Light LED หลอดแอลอีดี (LED) เป็นหลอดไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ มีให้เลือกใช้หลายขนาด สามารถใช้พัฒนาโคมไฟถนนได้ หลอดแอลอีดี เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ มีขนาดเล็ก มีกำลังไฟฟ้าและฟลักซ์ส่องสว่างไม่สูง ประสิทธิผลการส่องสว่างมีค่าสูงกว่าหลอดไอปรอทความดันสูงและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาได้สูงขึ้นอีก หลอดแอลอีดีมีการกระจายความเข้มส่องสว่างในทิศทางด้านหน้า จึงเหมาะที่จะพัฒนาใช้กับโคมไฟถนนต่อไป เพราะให้ประสิทธิผลการส่องสว่างของโคมไฟถนนสูงกว่าโคมไฟถนนที่ใช้หลอดชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานยาวนานมากว่า 50,000 ช.ม. รายละเอียดและสมรรถนะในการทำงานของหลอดแอลอีดี ดูมาตรฐาน IEC 62031และ IEC/PAS 62612

ทำไมจึงต้องเปลี่ยนมาใช้ โคมไฟถนนแอลอีดี 

 

 

โครงการส่งเสริมวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
   ในปีงบประมาณ 2555 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้รับงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

   โดยให้การสนับสนุนการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ในมาตรการมาตรฐาน (Standard Measures), มาตรการจากโครงการสาธิตเทคโนโลยีเชิงลึก และมาตรการอื่นๆ ที่ พพ.เห็นชอบ โดยจะต้องเป็นมาตรการที่มีระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 7 ปี โดย พพ. จะให้เงินสนับสนุนเงินลงทุนร้อยละ 20 สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท/รายและต่ำสุด 50,000 บาท/ราย


หลักการและเหตุผล
   ปัญหาการขาดแคลนพลังงานยังเป็นปัญหาสำคัญยิ่งและยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการอนุรักษ์พลังงานยังคงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปัญหานี้ถือว่าอยู่ในภาวะวิกฤต การลดการใช้พลังงานยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่ตรงตามเป้าที่กำหนดไว้

   ถึงแม้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง แต่การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ยังไม่เป็นการแพร่หลายนัก ทั้งนี้เนื่องจากการประหยัดพลังงานไม่ได้เป็นประเด็นหลักที่ผู้ประกอบการตระหนักถึง อีกทั้งการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีต้องมีการลงทุนที่สูง ประกอบกับความไม่มั่นใจในผลตอบแทนที่จะได้รับ จึงมีผู้ที่สนใจน้อย

   โครงการนี้เป็นโครงการที่ให้การสนับสนุนการลงทุนในเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ว่าจะเป็นการช่วยเหลือในรูปตัวเงินจากภาครัฐซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ผลที่ได้จะก่อให้เกิดการประหยัดพลังงานของประเทศในระยะยาว และสามารถใช้เป็นกรณีตัวอย่างในการเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างเป็นรูปธรรมถือว่าคุ้มค่าเพราะการสนับสนุนจะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุน เพิ่มจิตสำนึกของผู้ประกอบการในการประหยัดพลังงาน และช่วยเพิ่มตลาดเทคโนโลยี วัสดุ อุปกรณ์ในการประหยัดพลังงานซึ่งจะมีผลให้เกิดการขยายตัวของตลาดอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงอีกด้วย ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนในอนาคต

16 กุมภาพันธ์ 2567

ผู้ชม 6758 ครั้ง

Engine by shopup.com